วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

หลักการใช้สี


การใช้สีกับงานออกมานั้น อยู่ที่นักออกแบบมีจุดมุ่งหมายใด ที่จะสร้างความสนใจ ความเร้าใจต่อผู้ดู เพื่อให้เข้าถึงจุดหมายที่ตนต้องการ หลักของการใช้มีดังนี้
1.การใช้สีวรรณะเดียว ความหมายของสีวรรณะเดียว (tone) คือกลุ่มสีที่แบ่งออกเป็นวงล้อของสีเป็น 2 วรรณะ คือ วรรณะร้อน (warm tone) ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง สีเหล่านี้ให้อิทธิพล ต่อความรู้สึก ตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง ถือว่าเป็นวรรณะร้อน วรรณะเย็น (cool tone) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหล่านี้ดู เย็นตา ให้ความรู้สึก สงบ สดชื่น (สีเหลืองกับสีม่วงอยู่ได้ทั้งสองวรรณะ) การใช้สีแต่ละครั้งควรใช้สีวรรณะเดียวในภาพทั้งหมด เพราะจะทำให้ภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เอกภาพ) กลมกลืน มีแรงจูงใจให้คล้อยตามได้มาก
2.การใช้สีต่างวรรณะ หลักการทั่วไป ใช้อัตราส่วน 80% ต่อ 20% ของวรรณะสี คือ ถ้าใช้สีวรรณธร้อน 80% สีวรรณะเย็นก็ 20% เป็นต้น ซึ่งการใช้แบบนี้สร้างจุดสนใจของผู้ดู ไม่ควรใช้อัตราส่วนที่เท่ากันเพราะจะทำให้ไม่มีสีใดเด่น ไม่น่าสนใจ
3.การใช้สีตรงกันข้าม สีตรงข้ามจะทำให้ความรู้สึกที่ตัดกันรุนแรง สร้างความเด่น และเร้าใจได้มากแต่หากใช้ไม่ถูกหลัก หรือ ไม่เหมาะสม หรือใช้จำนวนสีมากสีจนเกินไป ก็จะทำให้ความรุ้สึกพร่ามัว ลายตา ขัดแย้ง ควรใช้สีตรงข้าม ในอัตราส่วน 80% ต่อ20% หรือหากมีพื้นที่เท่ากันที่จำเป็นต้องใช้ ควรนำสีขาว หรือสีดำ เข้ามาเสริม เพื่อ ตัดเส้นให้แยกออก จาก กันหรืออีกวิธีหนึ่งคือการลดความสดของสีตรงข้ามให้หม่นลงไป

สีตรงข้ามมี 6 คู่ได้แก่ สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว สีน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้ม สีเขียวเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงแดง สีส้มเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงน้ำเงิน สีส้มแดง ตรงข้ามกับ สีเขียวน้ำเงิน

การเลือกสีในการใช้ออกแบบกราฟฟิก ด้วยphotoshop


การเลือกสีที่จะนำมาใช้ในการออกแบบกราฟฟิกสำคัญมากมาเริ่มกันดีกว่า

การเลือกสี
1. เราต้องเลือกโทนสีก่อนว่าต้องการโทนใด เช่นแดง เขียว เหลือง ฟ้า ม่วง
2.จากนั้นเราค่อยเลือกน้ำหนักสี เช่นความสว่้าง ความเข้มจางของสี
3.ถ้าต้องการเลือกสีให้ตัดกันสองสีให้ทำการ เลือกสีก่อนหลังจากนั้น OK แล้วกลับมาเลือกอีกครั้งสีที่เราเลือกครั้งแรกจะลงมาอยู่แถบสีด้านล่างแล้วเราก็เลือกสีที่สองที่ ต้องการนำมาตัดกัน

หลักการนำมาใช้ในการออกแบบ
1.การเลือกสีโทนเดียวกันที่มีน้ำหนักและความสว่างของสีต่างกันโทนสีคงที่แต่ตำแหน่งน้ำหนักความสว่างของสีต่างกัน การเลือกในลักษณะนี้จะทำให้จะได้ความมีมิติให้แก่ วัตถุที่มี รูปร่างและรูปทรง และรวมถึงตัวอักษรไอค่อน ทำให้ เกิดมิติขึ้นมา
2.เลือกสีต่างโทนแต่น้ำหนักและความสว่างสีเท่ากันโทนสีต่างกัน และน้ำหนักความสว่างของสีคงที่ การเลือกในลักษณะนี้จะทำให้สีต่างโทนตัดกันได้อย่างลงตัว ทำให้ดูแล้วฉาบเรียบไม่ตะกุกตะกัก สบายตาดี
3.เลือกโทนสีที่ต่างกันน้ำหนักและความสว่างของสีไม่เท่ากันโทนสีจะไม่เหมือนกันและน้ำหนักความสว่างของสีก็ต่างกันจะทำให้ งานที่ออกมามีจุดเด่นจุดสะดุจตาที่ต่างกันไม่จำเจ ดูท้าทาย ดูซับซ้อน หาเอกลักษณ์ได้ง่าย โดยเน้นสีหลักและสีองค์ประกอบ สีที่ดูเข้มสว่างมากจะดูเด่น
4.เลือกกันหลายๆ กลุ่มและมารวมกันเป็นชิ้นงานโทนสีจะแยกออกเป็นกลุ่มๆ แล้วนำมาซ้อนกัน จะทำให้เกิดความหลากหลายในชิ้นงาน และสื่อความหมาย สร้างความสนใจในงานได้มาก แต่ควรกะน้ำหนักโทนสีร่วมพอดีๆ ดีมากกว่านั้นจะทำให้ลายตาดูยาก

Hue/Saturation

การใช้ Tool และคำสั่งใน Photoshop ในการปรับแต่งหรือเปลี่ยนแปลง น้ำหนักความสว่างของสี Photoshop มี Tool ในการปรับเปลี่ยนสีและน้ำหนักและความส่วางของสีได้ดั่งใจ คำสั่งที่นิยมใช้กันก็คือ
Hue/Sturation (Images --> Adjust --> Hue/Sturation)

Hue/Sturation จะช่วยให้สะดวกในการเลือกสีเปรียบเทียบสี จนเราพอใจ ไม่ว่าจะเป็นสีโทนเดียวหรือหลายๆ โทนสลับกัน สามารถปรับเปลี่ยนทั้งน้ำหนักและความวสว่างของสีได้มาดูความหมายของแต่ละตัวกันบ้างว่าเอาไว้ใช้ทำอะไรบ้าง
* Hue คือ การปรับเปลี่ยนโทนสี ที่เราเลือก
* Saturation คือ ปรับน้ำหนักของสี หรือ ความ อิ่มตัวของสี
* Lightness คือ ปรับความสว่างของสี
* Colorize คือ ปรับสีแบบโทนเดียว ใช้กับงานที่ต้องการให้ออกมาสีโทนเดียว ถ้าต้องการหลายโทนก็ไม่ต้องเลือก
พอจะเข้าใจในการเลือกใช้สีเบื้องต้นกันบ้างรึยัง เรื่องสีไม่ได้จบเพียงแค่นี้ ยังมีอีกเยอะเช่นการใช้สี ตัดขั้นระหว่างสีสองสีได้อย่างลงตัว และการเลือกโทนสีตามลักษณะโทนร้อนโทนเย็น ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้นับว่าเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบกราฟิค ยังไงจะนำมาเสนอท่านให้ได้เรียนรู้กัน ในโอกาสต่อไปแล้วกันนะคะ

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551


Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมที่รู้จักกันดีว่าใช้ในการสร้างสไลด์สำหรับการนำเสนองาน(Presenttation ) ไม่ว่าจะเป็นการแสดงบนจอภาพ ฉายโปรเจ็คเตอร์ที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมที่มีเครื่องมือคอยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ทำให้งานเกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้นโดยการใส่รูปภาพต่าง เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวิดีโอคลิป ฯลฯ

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

จุดแข็งของโรงเรียน

จุดแข็งของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา)
1. มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
2. มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านระบบเคเบิลทีวีของโรงเรียน
3. มีห้องเรียนอัจฉริยะจำนวน 4 ห้องเรียน
4. มีกิจกรรมส่งเสริมวิชาการ คือ
* การแข่งขันทักษะการออกเสียง ร. ล. และคำควบกล้ำระดับอนุบาล
* การแข่งขันทักษะทางวิชาการทั้งระดับเขตการศึกษา และ ระดับภาค